แม่อุ้มและปลอบลูกน้อยที่กำลังร้องไห้กลางดึกในห้องนอน

เมื่อลูกไม่ยอมนอนและร้องไห้บ่อย พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

คุณพ่อ-คุณแม่หลายคนคงเจอกับภาวะลูกไม่ยอมนอนตอนกลางคืน และสงสัยว่า ทำไมลูกร้องไม่หยุดตอนกลางคืน บางครอบครัวก็เจอปัญหาลูก 1 เดือนไม่ยอมนอนกลางคืน หรือทารกง่วงแต่ไม่ยอมนอน ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดหรือทารก 1-2 เดือนไม่นอนตอนกลางคืนเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ ทั้งความหิว ความเจ็บป่วย หรือต้องการอ้อมกอดอุ่นๆ ของคุณพ่อคุณแม่ แคร์ มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อให้คุณเข้าใจถึงสาเหตุที่ทารกไม่ยอมนอนตอนกลางคืน พร้อมวิธีแก้ลูกร้องตอนกลางคืน เพื่อให้คุณแม่ดูแลลูกน้อยด้วยความเข้าใจ และช่วยให้เจ้าตัวน้อยนอนหลับง่ายมากขึ้นค่ะ

5 สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกน้อยไม่ยอมนอนกลางคืน

ลูกน้อยวัย 1 เดือนไม่ยอมนอนกลางคืน เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยค่ะ เนื่องจากทารกวัยนี้มีวงจรการนอนหลับไม่คงที่ และเจ้าตัวน้อยังไม่สามารถแยกแยะกลางวันและกลางคืนได้ รวมไปถึงทารกแรกเกิดจนถึง 4-5 เดือนก็พบเจอภาวะนี้ได้เช่นกันค่ะ คุณแม่สามารถเช็ค ตารางการนอนของเด็กทารก เพื่อทำความเข้าใจวงจรการนอนหลับของเจ้าตัวน้อยมากขึ้น เรามาดู 5 สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ลูกน้อยไม่ยอมนอนตอนกลางคืนกันดีกว่าค่ะ 

 

1. ลูกน้อยไม่รู้จัก ‘กลางวัน’ หรือ ‘กลางคืน’

แน่นอนค่ะว่า ทารก 1-2 เดือนยังไม่รู้จักกลางวันหรือกลางคืน เพราะเจ้าตัวน้อยเพิ่งออกมาจากท้องอุ่นๆ ของคุณแม่ ในตอนกลางวันลูกน้อยมักนอนหลับได้ดี แต่กลับไม่ยอมนอนหรือตื่นมาร้องไห้จ้าตลอดคืน เพราะทารกยังแยกแยะความแตกต่างระหว่าง ‘กลางวัน’ กับ ‘กลางคืน’ ไม่ได้ บวกกับทารกแรกเกิดมักจะนอนเป็นช่วงสั้นๆ หรือเด็กบางคนอาจนอนสลับกันระหว่างกลางวันและกลางคืน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในช่วงแรกเกิด โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการนอนของทารก เช่น

  • นาฬิกาชีวิตยังไม่พัฒนา: ทารกวัยแรกเกิดยังไม่มีนาฬิกาชีวิตที่ควบคุมการนอนหลับและการตื่นเหมือนผู้ใหญ่ ทำให้ไม่สามารถแยกแยะเวลากลางวันและกลางคืนได้ค่ะ

  • ลูกต้องการการดูแล: ทารกแรกเกิดต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เมื่อทารกร้องไห้ในตอนกลางคืนควรรีบตอบสนองความต้องการของทารกอย่างรวดเร็ว เช่น หิวนม ผ้าอ้อมแฉะ หรือรู้สึกกลัว ทำให้เจ้าตัวน้อยตื่นบ่อย ๆ ในตอนกลางคืน

  • สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม: ไม่ว่าจะเป็นเสียงดัง แสงสว่างจ้า หรืออุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม อาจรบกวนการนอนของทารกได้ค่ะ 

** Tips: คุณแม่ควรเปิดไฟให้สว่างและทำกิจวัตรประจำวันตามปกติในตอนกลางวัน รวมถึงพาลูกน้อยออกไปรับแสงแดดอ่อน ๆ ตามธรรมชาติ เพื่อรีเซ็ตนาฬิกาชีวิตของพวกเขา และควรลดแสงไฟให้มืดลงในตอนกลางคืน คุณแม่อาจนวดตัว อ่านนิทานให้ฟัง หรือเปิดเพลงเบา ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่เงียบสงบ ผ่อนคลาย พร้อมสำหรับการนอนหลับนั่นเองค่ะ

2. ลูกน้อยหิวนม

ทารกแรกเกิดมักจะกินนมทีละน้อยๆ แต่หิวบ่อยในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากกระเพาะอาหารของทารกยังมีขนาดเล็กจึงหิวนมบ่อยและน้ำนมแม่สามารถย่อยได้อย่างรวดเร็ว คุณแม่อาจสังเกตสัญญาณความหิวนมของลูกน้อย เช่น การดูดนิ้ว การขยับปาก หรือการร้องไห้ นอกจากนี้ ทารกบางคนอาจต้องการดูดนมแม่เพื่อสัมผัสความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย แม้ว่าคุณแม่อาจเพิ่งให้นมลูกไปเมื่อ 2-3 ชั่วโมงก่อน แต่ก็ควรให้นมลูกเท่าที่เจ้าตัวน้อยต้องการค่ะ ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะกินนมมากเกินไป เพราะลูกน้อยของคุณแม่ต้องการน้ำนมไปช่วยในการเจริญเติบโตนั่นเองค่ะ

3. ลูกไม่สบาย

หลายครั้งที่ลูกน้อยไม่ยอมนอนเพราะไม่สบาย ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจอย่างมาก โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ลูกไม่ยอมนอนเมื่อไม่สบายเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • เป็นหวัด: เมื่อลูกเป็นหวัด ไอ หรือคัดจมูก จะทำให้หายใจลำบากและตื่นบ่อยในตอนกลางคืน

  • ลูกตัวร้อน: เมื่อลูกมีไข้หรือตัวร้อน จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและนอนหลับไม่สนิท

  • มีแก๊สในท้อง: หากลูกมีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้อง อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและนอนหลับยาก

  • ท้องผูก: อาการท้องผูกในทารกทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัว ส่งผลให้นอนไม่หลับได้

  • อาการเจ็บปวด: หากลูกมีอาการเจ็บปวดต่างๆ ตามร่างกาย อาจทำให้ไม่ยอมนอนและร้องไห้

** Note: หากคุณแม่สงสัยว่า อาการเจ็บป่วยต่างๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมนอน แนะนำให้พาลูกน้อยไปพบคุณหมอจะดีที่สุด แต่ถ้าลูกมีแก๊สในท้องหรือท้องผูก คุณแม่สามารถนวดท้องเบาๆ วนตามเข็มนาฬิกา หรือจับลูกน้อยนอนหงาย แล้วค่อยๆ ขยับขาเหมือนปั่นจักรยาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ เพื่อบรรเทาอาการแน่นท้องและท้องผูกได้ค่ะ

4. ลูกน้อยต้องการอ้อมกอดอุ่นๆ จากคุณ

การที่ลูกไม่ยอมนอนและติดคุณพ่อคุณแม่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กค่ะ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความกลัวการพลัดพราก ความต้องการความรักและความปลอดภัย หรือการเลี้ยงดูที่ใกล้ชิดมากเกินไป ลูกน้อยอาจต้องการรู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน หรือต้องการอยู่ใกล้คุณตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจนอนพบว่า การนอนในห้องเดียวกันจะช่วยให้ลูกรู้สึกใกล้ชิดและคุณพ่อคุณแม่ก็ได้พักผ่อนเช่นกัน ทั้งนี้ American Academy of Pediatrics แนะนำให้นอนห้องเดียวกับลูกน้อย แต่ไม่ใช่บนเตียงเดียวกัน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนทับทารก ทางที่ดีควรจัดเตรียมที่นอนสำหรับเด็กจะดีที่สุดค่ะ

5. ลูกน้อยได้รับการกระตุ้นมากเกินไป

หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของปัญหาลูกไม่ยอมนอน คือการที่ลูกน้อยได้รับการกระตุ้นมากเกินไปในตอนกลางวันหรือก่อนเข้านอน เพราะสมองของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ การได้รับสิ่งกระตุ้นมากเกินไปอาจทำให้สมองตื่นตัวส่งผลให้หลับยาก หรือลูกนอนไม่หลับในตอนกลางคืน เช่น มีคนมาเยี่ยม เล่นมากเกินไป เสียงดัง วุ่นวาย หรืองีบหลับมากเกินไปในตอนกลางวัน แม้แต่การที่คุณแม่ดื่มกาแฟก็ทำให้ลูกนอนไม่หลับได้เช่นกันค่ะ เพราะคาเฟอีนสามารถส่งผ่านทางน้ำนมแม่ได้ และอาจส่งผลต่อลูกน้อยโดยเฉพาะทารกแรกเกิด ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน เนื่องจากร่างกายของลูกน้อยยังไม่สามารถกำจัดคาเฟอีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เคล็ดลับช่วยให้ทารกนอนหลับสบายและหลับได้นานขึ้น

แม้การทำให้ทารกหลับในตอนกลางคืน ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่าน แต่ก็มีหลายวิธีที่สามารถช่วยให้ลูกหลับสบายและหลับนานขึ้นในตอนกลางคืนเช่นกันค่ะ ลองทำตามวิธีเหล่านี้ที่ผู้เชี่ยวชาญฯ แนะนำ ได้แก่ 

  • สังเกตสัญญาณง่วงนอนของลูกน้อย ทารกบางคนงอแง หาว หรือร้องไห้เมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า ขณะที่ทารกบางคนขยี้ตา จ้องมองไปที่อากาศ หรือดึงหูเบาๆ ทารกจะหลับง่ายและหลับเร็วขึ้นหากคุณแม่ค่อยๆ วางลูกลงบนที่นอน ทันทีที่สังเกตเห็นสัญญาณง่วงนอนของเจ้าตัวน้อย

  • อาบน้ำอุ่นก่อนนอน การอาบน้ำทารกก่อนนอนเป็นกิจวัตรที่ดี นอจากจะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและหลับสบายยิ่งขึ้น แล้วยังช่วยให้ทารกเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับเวลานอน ควรอาบน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 37-38 องศาเซลเซียส หรือทดสอบด้วยข้อศอกและหลังมือ น้ำอุ่นช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด และเตรียมพร้อมสำหรับการนอนหลับ ที่สำคัญควรเลือกสบู่อาบน้ำเด็กสูตรอ่อนโยนและปราศจากสารเคมีรุนแรง เราแนะนำสบู่เด็กแคร์คลาสสิค หรือครีมอาบน้ำแคร์คลาสสิค สูตรอ่อนโยนจากธรรมชาติ 98% สูตรไฮโป-อัลเลอร์เจนิก ปราศจากพาราเบน ซิลิโคน และสารเคมีใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย ทารกแรกเกิดควรอาบน้ำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็เพียงพอค่ะ

  • กินนมให้อิ่มก่อนนอน คุณแม่สามารถสร้างกิจวัตรประจำวันอย่างการกินนมนอน เพื่อช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่าถึงเวลาเข้านอนแล้ว ทารกที่อิ่มท้องมักจะนอนหลับได้นานขึ้น หากลูกน้อยเริ่มกินอาหารเสริมได้แล้วควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก เช่น อาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารที่มีรสจัดก่อนนอน เพราะจะทำให้ลูกไม่ยอมนอนค่ะ

  • ห่อตัวและกล่อมนอน การห่อตัวด้วยผ้าอุ่นๆ จะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ให้ความรู้สึกคล้ายกับตอนที่เขายังอยู่ในท้องของคุณแม่ การอุ้มลูกน้อยไว้แนบอก โยกตัวเบาๆ ตบก้นเบาๆ เป็นจังหวะสม่ำเสมอ หรือร้องเพลงกล่อมไปด้วย จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายและหลับง่ายขึ้น เด็กที่ติดจุกนมหลอกก็อาจช่วยให้ลูกหลับได้นานขึ้น

ที่สำคัญให้ลูกน้อยหลับสบายมากยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงผดผื่นที่เกิดจากความเปียกชื้นกับ แป้งเด็กแคร์ โซเพียว ที่ช่วยปลอบประโลมผิว พร้อมมอบกลิ่นหอมอ่อนๆจากธรรมชาติ

  • จัดเตรียมที่นอนให้เหมาะสม ควรให้ทารกนอนบนที่นอนหรือเปลเด็กที่เหมาะสม โดยจัดท่าทางให้นอนหงายและระวังอย่าให้ลูกนอนคว่ำ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกได้

  • สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย การจัดเตรียมห้องนอนให้เงียบสงบ มืด และมีอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการนอนของทารก คือประมาณ 20-22 องศาเซลเซียส จะช่วยให้ลูกหลับเร็วและหลับสบายมากขึ้น 

  • เปิดเพลงบรรเลงเบาๆ หรือเสียงธรรมชาติ: เสียงเหล่านี้จะช่วยกลบเสียงรบกวนและทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ การอาบน้ำอุ่น นวดตัวเบาๆ อ่านนิทาน หรือฮัมเพลง ก็ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายและง่วงนอนได้

  • หลีกเลี่ยงการกระตุ้นก่อนนอน: งดกิจกรรมตื่นเต้นหรือกระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น ชวนลูกเล่นสนุก มีคนมาเยี่ยมในเวลาเข้านอนของลูก เปิดไฟสว่างจ้า เสียงโทรทัศน์ดัง ฯลฯ คุณแม่ควรจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในห้องนอนของลูกน้อยให้เงียบสงบ มืด และเย็นสบายเหมาะสำหรับการนอน เพื่อช่วยให้ลูกหลับสบายและหลับนานขึ้น

  • กำหนดตารางการนอนให้ลูกน้อย ทารกจะนอนหลับได้ดีที่สุดเมื่อเข้านอนและตื่นเป็นเวลา คุณแม่ไม่ควรลดเวลาการงีบหลับระหว่างวัน เพราะอาจทำให้รู้สึกง่วงนอนมากเกินไปและนอนหลับไม่ดีอีกด้วย การฝึกให้ลูกน้อยเข้านอนเป็นเวลาต้องใช้ความอดทนและใจเย็นอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ค่อยๆ ปรับเจ้าตัวน้อยด้วยความเข้าใจนะคะ

  • ให้ลูกน้อยเข้านอนทั้งๆ ที่ยังง่วงแต่ไม่ยอมนอน ควรให้ลูกน้อยเข้านอนทั้งๆ ที่ง่วงแต่ไม่ยอมนอน วิธีนี้จะช่วยฝึกให้ลูกน้อยสงบสติอารมณ์และนอนหลับได้เอง เมื่อลูกตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนจะสามารถนอนหลับได้เองในที่สุด

ด้วยเคล็ดลับดีๆ ที่เรานำมาฝาก หวังว่าจะช่วยให้คุณแม่รับมือกับอาการลูกไม่ยอมนอนได้ดีขึ้น หากลูกน้อยมีปัญหาการนอนหลับเรื้อรัง หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ไอ หายใจลำบาก หรือเป็นหวัด แนะนำให้พาลูกไปพบแพทย์จะดีกว่าค่ะ 

 

อ้างอิงข้อมูล: Mindell JA & Owens JA (2003). A Clinical Guide to Pediatric Sleep: Diagnosis and Management of Sleep Problems. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins

บทความที่น่าสนใจ เพื่อการดูแลผิวลูกน้อย