
ลูกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง? มาดูตารางการนอนของเด็กทารกที่คุณแม่ควรรู้!
ทำเอาคุณแม่มือใหม่อย่างเราๆ มักจะกังวลใจและถึงขั้นอดหลับอดนอนกันเลย หลังจากที่เจ้าหนูน้อยลืมตาดูโลกได้ไม่นาน คุณแม่ก็เกิดอาการสับสนกับตารางการนอนของเด็กทารก ทำไมลูกน้อยถึงนอนหลับไม่เป็นเวลา? นอนแป๊บๆ ก็ตื่นมาร้องไห้จ้า แถมกว่าจะกล่อมลูกนอนได้ก็เล่นเอาคุณแม่เพลียไปหลายรอบ แล้วเวลานอนที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กควรเป็นแบบไหนกันแน่นะ? คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ เรามีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับตารางการนอนทารกที่คุณแม่สามารถทำตามได้ง่ายๆ เพื่อให้ลูกน้อยของคุณนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีมาฝากกันค่ะ
ทำไมลูกน้อยถึงนอนไม่เป็นเวลา? ถอดรหัสตารางการนอนของเด็กทารก
ก่อนอื่นคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทารกแรกวัยเกิดยังไม่มีนาฬิกาชีวิตเหมือนผู้ใหญอย่างเราๆ ระบบการนอนของเขายังอยู่ในช่วงพัฒนาจึงเป็นเรื่องปกติที่เด็กทารกจะนอนหลับๆ ตื่นๆ ตลอดวัน ถึงอย่างนั้น ตารางการนอนของทารกแต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกันไป การให้ลูกเข้านอนเป็นเวลาตั้งแต่เนิ่นๆ จะเป็นกุญแจสำคัญสู่การนอนอย่างมีคุณภาพในอนาคต มาทำความเข้าใจวงจรการนอนของลูกน้อยผ่าน “ตารางการนอนของทารก” วัยแรกเกิดถึง 1 ปีกันดีกว่า
ตารางการนอนของเด็กทารกวัยแรกเกิดถึง 1 ปี
อายุ |
งีบหลับ (จำนวนครั้ง) |
รวมช่วงเวลางีบหลับ (ชั่วโมง) |
นอนกลางวัน (ชั่วโมง) |
นอนกลางคืน (ชั่วโมง) |
หลับยาวตอนกลางคืน |
รวมระยะเวลานอน (ชั่วโมง/ วัน) |
แรกเกิด -6 สัปดาห์ |
หลายครั้ง |
30 นาที – 4 ชั่วโมง |
หลายครั้ง |
หลายครั้ง |
ประมาณ 4 ชั่วโมง |
14-17 ชั่วโมง |
2 เดือน |
3-5 |
30 นาที – 3 ชั่วโมง |
7-9 ชั่วโมง |
8-9 ชั่วโมง |
ประมาณ 6 ชั่วโมง |
14-17 ชั่วโมง |
3 เดือน |
3-4 |
30 นาที – 2 ชั่วโมง |
4-8 ชั่วโมง |
8-10 ชั่วโมง |
ประมาณ 6 ชั่วโมง |
14-16 ชั่วโมง |
4 เดือน |
2-3 |
1-2 ชั่วโมง |
3-6 ชั่วโมง |
9-10 ชั่วโมง |
ประมาณ 6-8 ชั่วโมง |
12-16 ชั่วโมง |
5-6 เดือน |
2-3 |
1-2 ชั่วโมง |
3-4 ชั่วโมง |
10-11 ชั่วโมง |
ประมาณ 10-11 ชั่วโมง |
12-16 ชั่วโมง |
7-8 เดือน |
2 |
1-2 ชั่วโมง |
3-4 ชั่วโมง |
10-12 ชั่วโมง |
ประมาณ 10-12 ชั่วโมง |
12-16 ชั่วโมง |
9 เดือน |
2 |
1-2 ชั่วโมง |
3-4 ชั่วโมง |
10-12 ชั่วโมง |
ประมาณ 10-12 ชั่วโมง |
12-16 ชั่วโมง |
10 เดือน -1 ปีขึ้นไป |
2 |
1-2 ชั่วโมง |
3-4 ชั่วโมง |
10-12 ชั่วโมง |
ประมาณ 10-12 ชั่วโมง |
12-16 ชั่วโมง |
ข้อมูลจาก: https://www.whattoexpect.com/first-year/baby-sleep-schedule.aspx
จะเห็นได้ว่า ตารางการนอนของเด็กทารกในแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยแล้วทารกแรกเกิดจะนอนประมาณ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน แต่จะเป็นการนอนหลับที่แบ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละ 2-4 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อลูกน้อยอายุได้ 4 เดือน ตารางการนอนจะค่อยๆ เป็นเวลามากขึ้น เพราะทารกจะเริ่มแยกแยะได้ว่า ช่วงไหนเป็นเวลากลางวัน กลางคืน และจะเริ่มนอนยาวขึ้นในตอนกลางคืน ลูกน้อยจะเริ่มเข้านอน ตื่นนอน และงีบหลับในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน จนคุณแม่พอจะคาดเดาช่วงเวลาเข้านอนตามธรรมชาติของลูกได้ และรู้ว่าเมื่อไหร่เราควรจะกล่อมลูกนอน เพื่อเป็นการปลูกฝังให้ลูกเข้านอนเป็นเวลาและเสริมสร้างพัฒนาที่ดีของลูกน้อย
Tips: หากคุณแม่อยากจะเริ่มฝึกลูกน้อยให้เข้านอนเป็นเวลา ควรรอจนกว่าลูกอายุได้ประมาณ 4-6 เดือน และควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อความพร้อมทั้งร่างกายและพัฒนาการของลูกน้อย
5 วิธีสร้างตารางการนอนของทารกสำหรับคุณแม่มือใหม่
ถึงแม้ว่า ตารางการนอนของทารกจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน แต่คุณแม่ก็สามารถช่วยให้ลูกนอนเป็นเวลาได้เช่นกัน ด้วยการสร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูกน้อย เริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมของลูกโดยดูว่าปกติแล้วลูกมักจะตื่นนอนเวลาไหน? ห่างกันกี่ชั่วโมงถึงจะง่วงนอนอีกครั้ง จากนั้นค่อยๆ ปรับเวลานอน เวลาตื่น เวลาให้นม และเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นเวลาใกล้เคียงกันในทุกๆ วัน ด้วยเคล็ดลับดีๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่สร้างตารางการนอนของทารกได้ง่ายขึ้น
เริ่มในวันที่ลูกพร้อม: แม้ว่าทารกแรกเกิดจะไม่สามารถเข้านอนเป็นเวลาได้ แต่คุณแม่สามารถจัดตารางการกินและการนอนได้เมื่อทารกอายุ 2 เดือน ขึ้นอยู่กับนิสัยการนอนของเด็กและไม่ควรเร่งรีบจนเกินไป แนะนำให้คุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อความเหมาะสมกับเด็กแต่ละคนจะดีกว่า
สร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูกน้อย: คุณแม่สามารถสร้างความรู้สึกคุ้นเคยให้ลูกน้อยรับรู้ว่า เมื่อไหร่ควรเข้านอน งีบหลับ หรือตื่นนอน ด้วยการสังเกตพฤติกรรมการนอนควบคู่กับการจดบันทึกช่วงเวลานอนหลับและตื่นนอนในแต่ละวัน รวมถึงการสร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูกคุ้นเคยกับช่วงเวลาตื่นนอนและเข้านอน อย่างการให้นมลูก กอด อาบน้ำ ร้องเพลงกล่อม หรือนวดเบาๆ ขณะเดียวกันคุณแม่ควรย่นระยะเวลาเหล่านั้นให้สั้นลงก่อนถึงเวลาเข้านอน เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้ลูกน้อยนั่นเอง
สังเกตอาการง่วงนอน: มีสัญญาณหลายอย่างที่บ่งบอกว่า ลูกน้อยรู้สึกเหนื่อยและง่วงนอน เช่น ขยี้ตา หาว หรือหงุดหงิด เมื่อลูกน้อยส่งสัญญาณเหล่านี้ออกมาแนะนำให้คุณแม่พาลูกเข้านอน (แม้เจ้าตัวน้อยจะยังไม่อยากหลับก็ตาม) เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะเข้านอนเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้คุณแม่ช่วยเหลือในอนาคต หากลูกยังไม่มีทีท่าว่าจะหลับง่ายๆ คุณแม่ก็ควรจะกล่อมลูกนอนจนกว่าจะหลับ
สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย: การสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการนอนก็สำคัญมาก เช่น การปิดม่านหรือหรี่ไฟให้มืด เปิดเพลงกล่อมเบาๆ หรือพูดคุยกับเขาด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและหลับได้ง่ายขึ้น
อย่าตกใจเมื่อได้ยินเสียงร้อง: เมื่อทารกอายุประมาณ 3-4 เดือน เขาจะสามารถปลอบตัวเองได้แล้ว คุณแม่จึงไม่ควรรีบอุ้มทารกหากได้ยินเสียงลูกงอแงตอนกลางคืนหรือขณะงีบหลับ ควรรอสัก 2-3 นาทีเพื่อดูว่าทารกจะนอนหลับเองได้หรือไม่? หากลูกยังคงงอแงอยู่ให้ค่อยๆ ปลอบโยนและกล่อมนอนโดยไม่ต้องอุ้มจนกว่าเขาจะหลับ
ท่องไว้เสมอว่า เด็กๆ แต่ละคนมีพฤติกรรมการนอนหลับที่ยากจะคาดเดาได้ ดังนั้น ตารางการนอนของเด็กทารก หรือเด็กทารกควรนอนกี่ชั่วโมง จึงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของทารก อย่างการลองผิดลองถูกเล็กๆ น้อยๆ ก็จะช่วยให้คุณแม่ทราบว่าอะไรเหมาะสมกับลูกน้อย ที่สำคัญควรปรับเปลี่ยนตารางอย่างยืดหยุ่นและไม่กดดันลูกจนเกินไป โดยยึดตามธรรมชาติของลูกน้อยให้มากที่สุดจะดีกว่า
ตารางการนอนของทารก มีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยหรือไม่?
เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมทารกส่วนใหญ่มักจะนอนหลับตลอดวัน? นั่นเพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงสำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาสมองและร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงของเด็กทารกนั่นเองค่ะ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยให้สมองพัฒนาได้อย่างดีและเอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ การคิด การพัฒนาด้านภาษา และการสร้างพฤติกรรมต่างๆ ในอนาคต
โดยการนอนหลับที่มีคุณภาพควบคู่กับโภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทารกวัยแรกเกิดจะงีบหลับในระหว่างวัน โดยการงีบหลับบ่อยๆ จะช่วยให้สมองส่วนความทรงจำทำงานได้ดีขึ้น การงีบหลับจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กทารกนั่นเอง เช่นเดียวกับตารางการนอนของเด็กทารกที่มีผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น
เสริมการเจริญเติบโตของลูกน้อย: โดยทั่วไปแล้วทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อแรกเกิดจนอายุได้ 5 เดือน และเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าเมื่ออายุครบ 1 ขวบ การนอนหลับที่มีคุณภาพมีจะส่งผลต่อฮอร์โมนที่เรียกว่า “Somatotropin” ซึ่งสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทางร่างกายของเด็กทารกนั่นเอง
เสริมพัฒนาการด้านจิตใจ: การนอนหลับจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านจิตใจได้อย่างดี อีกทั้งการเรียนรู้ส่วนใหญ่ยังเกิดขึ้นในขณะที่ทารกกำลังนอนหลับ จากการศึกษาพบว่า เด็กทารกที่นอนหลับเป็นเวลามักจะมีพัฒนาการด้านจิตใจที่ดีกว่าเด็กที่นอนน้อยอย่างเห็นได้ชัด
ช่วยส่งเสริมความจำที่ดี: การนอนหลับเป็นวิธีที่เด็กทารกจะเสริมสร้างความทรงจำเกี่ยวกับคนที่เขารู้สึกคุ้นเคย สัตว์ และสิ่งของต่างๆ รอบตัว แล้วยังช่วยให้ลูกน้อยประมวลผลสภาพแวดล้อมต่างๆ และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
ลดความเสี่ยงต่อภาวะอ้วน: การนอนหลับไม่เพียงพอในช่วง 6 เดือนแรกอาจจะทำให้เด็กทารกส่วนใหญ่เกิดภาวะอ้วนได้ โดยการศึกษาวิจัยหลายชิ้นพบว่า เด็กทารกส่วนใหญ่ที่นอนน้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน มีความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักเกินในช่วงก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้น
เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง: เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กทารกยังไม่สมบูรณ์เท่ากับผู้ใหญ่ การนอนหลับจึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย หากเด็กทารกนอนหลับไม่เพียงพอ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่คลอดก่อนกำหนด) จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ลูกน้อยจึงมีโอกาสป่วย เป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่มากขึ้น
จะเห็นได้ว่า การนอนหลับอย่างเพียงพอในช่วงขวบปีแรกมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกน้อย เพราะเป็นช่วงเวลาที่ทารกกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายและสิ่งแวดล้อมรอบตัวนั่นเองค่ะ
เคล็ดลับง่ายๆ กล่อมลูกนอนเก่งยืนหนึ่ง
เมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 3 เดือน ก็ถึงเวลาแล้วที่คุณแม่จะเริ่มปลูกฝังกิจวัตรประจำวันก่อนนอนให้กับเจ้าตัวน้อย ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยเพิ่มความรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว และสร้างช่วงเวลาที่ดีระหว่างคุณแม่และลูกน้อยได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น
อาบน้ำอุ่น ช่วยเพิ่มความรู้สึกผ่อนคลาย
เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดี และเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่ให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว
หรี่ไฟในห้องให้มืดลง ควรเงียบและงดการพูดคุยเสียงดัง เพื่อสร้างบรรยากาศที่สงบและผ่อนคลาย
อุ้มลูกน้อยไว้ในอ้อมแขน ลูบหรือโยกตัวเบาๆ พร้อมกับร้องเพลงกล่อมลูก เมื่อลูกน้อยหลับในอ้อมแขนของคุณแล้วให้ค่อยๆ วางลูกน้อยลงในเปล ที่นอน หรือเตียงนอนอย่างเบามือ
หากลูกน้อยตื่นขณะวางลงบนที่นอน ให้ลูบเบาๆ และปลอบโยนด้วยเสียงที่อ่อนโยนจนกว่าจะหลับ
เปิดเพลงกล่อมเด็กเบาๆ หรือใช้โมบายดนตรีที่ช่วยให้เขาหลับง่ายขึ้น
ด้วยเคล็ดลับกล่อมลูกนอนง่ายๆ นี้จะช่วยสร้างนิสัยการนอนที่ดีให้กับลูกน้อย แต่ถ้ากิจกรรมบางอย่างก่อนนอนทำให้ลูกรู้สึกตื่นเต้นมากเกินไป ควรใช้เวลาสักพักเพื่อปลอบโยนให้เขารู้สึกสงบและคลายความตื่นเต้นลง เช่น การนวดเบาๆ การร้องเพลงกล่อมนอน หรือการอ่านหนังสือ เป็นต้น
** Tips: ระหว่างอาบน้ำเป็นช่วงเวลาดีๆ สำหรับคุณแม่และลูกน้อย เพิ่มความรู้สึกผ่อนคลายสบายตัวและทำความสะอาดผิวบอบบางของลูกน้อยอย่างอ่อนโยน ด้วยผลิตภัณฑ์แคร์ ที่มีให้เลือกหลายสูตร พร้อมกลิ่นหอมปลอบประโลมที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาของลูกน้อย ทุกครั้งหลังอาบน้ำควรทาแป้งเด็กแคร์ โซเพียว ที่มีสารสกัดออร์แกนิค 100% อ่อนโยนและไม่ระคายเคืองต่อผิวบอบบางของทารก พร้อมเทคโนโลยี DryLock ช่วยป้องกันความอับชื้น ลดผดผื่น และป้องกันผื่นผ้าอ้อม พร้อมกลิ่นหอมอ่อนโยนจากธรรมชาติ แนะนำให้คุณแม่ทาบริเวณข้อพับต่างๆ เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว แห้งสบายผิว ผ่อนคลาย และหลับสบายมากขึ้น
ลูกน้อยไม่ยอมนอนตามตารางการนอนของทารก
แน่นอนค่ะว่า การสร้างตารางการนอนของทารกไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งลูกน้อยก็อาจจะงอแง ไม่ยอมนอนตามตางรางเวลาของเขา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณแม่ต้องใจเย็นๆ อย่าเพิ่งท้อและอย่ากดดันตัวเองหรือลูกน้อยมากเกินไป ลองสังเกตดูว่า มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เขานอนไม่หลับหรือเปล่า เช่น อากาศร้อนเกินไป ผ้าอ้อมเปียก หรือลูกรู้สึกไม่สบายตัว หากลองเช็คแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ ลองอุ้มกล่อม ร้องเพลง หรือเปิดเพลงกล่อมเบาๆ ให้เขาฟัง เพื่อช่วยให้เขาผ่อนคลายและหลับได้ง่ายขึ้น
ที่สำคัญคุณแม่ก็ต้องพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ เพราะถ้าคุณแม่พักผ่อนไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่ออารมณ์และทำให้คุณแม่ไม่มีเรี่ยวแรงดูแลลูก แม้การเลี้ยงลูกจะทั้งเหนื่อยและท้าทาย แต่ก็เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและคุ้มค่าที่สุดสำหรับคุณแม่ เราขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนผ่านพ้นช่วงเวลาที่แสนพิเศษนี้ไปได้ด้วยดี แล้วอย่าลืมนำตารางการนอนของเด็กทารกไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับลูกน้อยของคุณแม่นะคะ