5 ทริกฝึกลูกกินข้าวเอง เสริมพัฒนาการเด็กง่ายๆ

5 ทริกฝึกลูกกินข้าวเอง เสริมพัฒนาการเด็กง่ายๆ

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันไหมว่า ‘เราควรเริ่มฝึกลูกกินข้าวเองตั้งแต่อายุเท่าไรดีนะ’ ก่อนอื่นเรามารู้จักกับพัฒนาการเด็กกัน เริ่มตั้งแต่เมื่อลูกอยู่ในวัยทารกประมาณ 3 – 5 เดือน พัฒนาการเด็กเขาจะเริ่มขยับนิ้วได้ และเป็นช่วงเริ่มฝึกใช้กล้ามเนื้อ เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 6 – 12 กล้ามเนื้อของลูกจะถูกฝึกให้หยิบจับสิ่งของได้ดีขึ้น ดังนั้น ในช่วงอายุตั้งแต่ 6 เดือน – 2 ปี จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มฝึกให้ลูกทานข้าวเอง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในหลายๆ ด้านให้กับลูกน้อย

  1. ช่วยฝึกด้านร่างกายและกล้ามเนื้อ ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และฝึกการใช้กล้ามเนื้อ ประสาทสัมผัส และการมองเห็น ให้สอดคล้องกัน

  2. ช่วยฝึกพัฒนาการเด็กด้านสมอง ช่วยฝึกจดจำวัตถุดิบที่หลากหลาย รู้จักขั้นตอนการกินอาหาร ฝึกคิดหากมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างกินอาหาร เป็นต้น

  3. ช่วยฝึกฝนให้เด็กช่วยเหลือตัวเอง ลูกจะรู้จักกิจวัตรประจำวัน เข้าใจเรื่องระเบียบวินัย เด็กจะรู้สึกภูมิใจและเห็นคุณค่าของตัวเองเมื่อทำสำเร็จ

เมื่อรู้แบบนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากฝึกให้ลูกกินข้าวเอง โดยที่ไม่ต้องบังคับ ให้เด็กอารมณ์ดี ไม่งอแง รีบมาดูด้วย 5 ทริกฝึกลูกกินเองง่ายๆ กันเลย

 

สอนลูกกินข้าวเอง เด็กอารมณ์ดี
  1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
    เริ่มต้นจากการเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นให้ครบถ้วนกันก่อน ได้แก่
    • จานชาม/ช้อนส้อม ควรเลือกที่เป็นพลาสติกที่มีความมนเพื่อป้องกันการบาดปากลูก มีน้ำหนักเบา ขนาดพอเหมาะกับขนาดมือเด็ก
    • แก้วน้ำมีหูจับ เพื่อให้ลูกถือจับได้ถนัดมือ สามารถเลือกลวดลายที่ลูกชอบเพื่อดึงดูดให้ลูกสนใจ
    • Bib หรือแผ่นยางกันเปื้อน
    • ทิชชู่เปียก สำหรับเช็ดทำความสะอาดมือ ปาก และผิวลูก ควรเลือกที่มั่นใจว่าอ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่ายหรือสังเกตง่ายๆ ว่าผ่านการทดสอบไฮโป-อัลเลอร์เจนิก โดยเตรียมทิชชู่เปียก แคร์ เบบี้ ไวพส์ ไว้บนโต๊ะอาหารหรือไว้ใกล้มือ เพื่อให้สะดวกต่อการหยิบใช้
    • สบู่เหลวสำหรับล้างมือ โดยสามารถใช้ครีมอาบน้ำ แคร์ เฮด ทู โท นิวทริ-โอ๊ต สามารถใช้เป็นสบู่เหลวทำความสะอาดร่างกายและเป็นแชมพูเด็กสำหรับสระผมได้ในขวดเดียว สำหรับล้างมือก่อนและหลังกินข้าว
    • เก้าอี้กินข้าว ควรเป็นแบบมีพนักพิงหลัง สามารถปรับระดับความสูงให้เหมาะกับเด็กได้

  2. คุณแม่หยุดป้อนข้าวลูก
    เมื่อคุณพ่อคุณแม่เสิร์ฟอาหารตรงหน้าลูกแล้ว ลองวางช้อนไว้ข้างๆ แล้วบอกให้ลูกตักกินเอง หรือคุณแม่อาจกินข้าวไปพร้อมลูกเพื่อสาธิตตัวอย่าง การตักอาหาร การเคี้ยว การกลืน เพราะเด็กวัยนี้เป็นจอมเลียนแบบผู้ใหญ่อยู่แล้ว ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยฝึกกล้ามเนื้อมือและแขน เพิ่มการทำงานของสายตาให้สอดประสานกับการใช้แขนและมือด้วย ที่สำคัญถ้าลูกมีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปแล้ว เมื่อเขาไม่ยอมกินเองหรือร้องไห้งอแง คุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็ง ห้ามเข้าไปป้อนเอง ซึ่งจะช่วยฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบ เริ่มช่วยเหลือตัวเองได้ และการใช้เวลากินข้าวพร้อมหน้ากันช่วยให้เด็กอารมณ์ดีกว่าการปล่อยให้ลูกนั่งกินเพียงลำพัง ช่วยลดอาการร้องไห้งอแง และในระหว่างที่นั่งทานข้าวพร้อมกับลูกคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าเสมอว่าลูกมีอาการติดคอหรือสำลักอาหารหรือไม่

  3. กำหนดเวลากินข้าวให้ชัดเจน
    ฝึกให้เขากินข้าวตรงเวลาทั้งมื้อเช้า เที่ยง และเย็น ถ้าเป็นไปได้ให้ลูกมานั่งกินพร้อมหน้ากับครอบครัว และกำหนดเวลา ส่วนใหญ่ประมาณ 30 นาที (ปรับเพิ่มลดได้ในช่วง 20 – 40 นาที) เมื่อครบเวลาแล้ว ถ้าเขายังกินไม่หมดให้ยกจานออกเลย เพื่อฝึกพัฒนาการเด็กด้านสมอง ลูกจะเริ่มเรียนรู้เงื่อนไขแล้วค่อยๆ ปรับตัว เมื่อถึงเวลากิน เขาจะต้องกินว่าโดยไม่ออกคำสั่ง ช่วยปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่ดีในอนาคต

  4. ชื่นชมเมื่อเขาทำสำเร็จ
    ทุกครั้งหลังจากที่ลูกกินได้เองแต่ละคำๆ อาจพูดเชียร์ให้เด็กอารมณ์ดีและมีกำลังใจในการกินคำต่อไป หรือถ้าลูกกล้าลองชิมอาหารเมนูที่แปลกใหม่ๆ หรือผักที่เขาไม่เคยกิน คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดชื่นชมให้ลูกรู้สึกมั่นใจขึ้นได้ จะช่วยจูงใจให้ลูกรู้สึกอยากกินอาหารมื้อต่อไปได้

  5. เลอะเทอะได้ไม่ต้องห่วง
    แน่นอนว่าในระยะเริ่มต้นเด็กเล็กๆ พัฒนาการกล้ามเนื้อมือที่ไม่ดีพอ ทำให้กินเลอะเทอะไปบ้าง การใช้มือหยิบอาหาร (Finger Food) เป็นเรื่องปกติของเด็ก หากลูกเอนจอยกับการกินนับว่าป็นเรื่องที่ดี โดยโมเมนต์ที่เด็กอารมณ์ดี กำลังเอร็ดอร่อยกับอาหารจานโปรดคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดุหรือห้าม เพราะจะทำให้ลูกกลัวและกังวลเรื่องการกินในครั้งต่อๆ ไป คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นและอดทน คอยเช็ดมือ ปาก และผิวลูกบริเวณที่เลอะเทอะ ด้วยทิชชู่เปียกที่อ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่าย และขอรับรองว่าถ้าคุณแม่ได้เห็นพัฒนาการเด็กที่ดีขึ้น จะยิ่งทำให้รู้สึกภูมิใจเพราะเป็นวิธีฝึกฝนที่คุ้มค่า พ่อแม่ควรต้องใจเย็นและอดทน แล้วคอยคำนึงถึงเรื่องสุขอนามัยโดยการเช็ดทำความสะอาดมือ ปาก และผิวลูก บริเวณที่เลอะเทอะด้วยทิชชู่เปียกที่อ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่ายอย่าง ทิชชู่เปียก แคร์ เบบี้ไวพส์ ที่มีสารสกัดจากฮันนี่ซัคเคิล (Honeysuckle) หรือดอกสายน้ำผึ้ง มีคุณสมบัติช่วยปลอบประโลมผิวหนัง ทิชชู่เปียก แคร์ เบบี้ ไวพส์ จึงถือเป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่ช่วยสร้างสรรค์ช่วงเวลาคุณภาพกับลูกน้อยอย่างต่อเนื่องได้ทุกที่ทุกเวลา

ทิชชู่เปียกเช็ดทำความสะอาดแพ้ง่าย

ใหม่! ไอเท็มแนะนำ แคร์ เบบี้ ไวพส์ ซูทติ้ง เเอนด์ คลีน

  • เช็ดทำความสะอาดผิวลูกอย่างอ่อนโยน ทำจากเส้นใยธรรมชาติ 100% สามารถรีไซเคิลได้

  • ทิชชู่เปียกแคร์ ผ่านการทดสอบไฮโป-อัลเลอร์เจนิก และทางการแพทย์ผิวหนังประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วว่า เป็นสูตรที่อ่อนโยน ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ 

  • มั่นใจในความปลอดภัย ไม่มีสารเคมี ไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีพาราเบน ไม่มีสีสังเคราะห์ ปราศจากทั้งน้ำหอม SLS และ โพรไพลีน ไกลคอล 

  • พร้อมสารสกัดจากฮันนี่ซัคเคิล (Honeysuckle) หรือดอกสายน้ำผึ้ง ที่มีคุณสมบัติช่วยปลอบประโลมผิวหนัง 

รวมถึงก่อนและหลังกินอาหารควรล้างมือลูกให้สะอาดทุกครั้ง ด้วยครีมอาบน้ำ แคร์ เฮด ทู โท นิวทริ-โอ๊ต ที่สามารถใช้เป็นสบู่เหลวทำความสะอาดร่างกายและเป็นแชมพูเด็กสำหรับสระผมได้ในขวดเดียว มั่นใจได้ว่าอ่อนโยนต่อผิวลูกน้อย เพราะผ่านการทดสอบไฮโป-อัลเลอร์เจนิก ไม่มีสารเคมี ไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีพาราเบน ไม่มีซิลิโคน ไม่มีสีสังเคราะห์ ช่วยทำความสะอาดฝ่ามือลูกน้อยให้หมดจด ผสานคุณค่าสารสกัด นิวทริ-โอ๊ต ที่มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น สุขภาพดี

คุณพ่อคุณแม่ลองเอา 5 วิธีง่ายๆ เหล่านี้ไปปรับใช้กับลูก แต่ในช่วงแรกอาจมีอาการงอแงบ้าง ควรใจเย็นกับการสอนลูกอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่ากดดันหรือใช้การลงโทษที่รุนแรง รับรองว่าจะช่วยให้เด็กอารมณ์ดี สามารถกินข้าวด้วยตัวเองได้สำเร็จ นับเป็นความภาคภูมิใจและสุดแสนน่าประทับใจ ไม่แพ้ 5 โมเม้นต์พัฒนาการเด็กที่สำคัญ คลิก ของคนเป็นคุณพ่อคุณแม่ 

 

บทความที่น่าสนใจ เพื่อการดูแลผิวลูกน้อย