อย่ามองข้าม! 5 ปัญหาผิวเด็กกวนใจแม่ พร้อมวิธีแก้สุดเวิร์ก

อย่ามองข้าม! 5 ปัญหาผิวเด็กกวนใจแม่ พร้อมวิธีแก้สุดเวิร์ก

อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าชั้นผิวของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ เกราะป้องกันผิวยังอ่อนแอ ผิวหนังจึงบอบบางกว่าผิวผู้ใหญ่หลายเท่า ทำให้ผิวเด็กสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย มักมีอาการแพ้และเกิดปัญหาผิวได้บ่อย คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น มีผด ผื่นแดง หรือมีตุ่มบนผิวหนัง อาจมีอาการคัน ฯลฯ ที่เกิดจากสารระคายเคืองต่างๆ รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา โดยเฉพาะช่วงอายุประมาณ 2 สัปดาห์ หลังกลับจากโรงพยาบาล ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องให้ความสำคัญกับการดูแลผิวเด็ก หมั่นสังเกตสภาพผิวแพ้ง่ายของลูกว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่? หรืออาจมีอาการไม่สบายตัวอย่างไรบ้าง? แต่ไม่ต้องวิตกกังวลมากจนเกินไปเพราะวันนี้เรามีวิธีดูแลผิวลูกสุดเวิร์กมาฝากกัน

1. มีไขบนหนังศีรษะ / คราบไขมันบนหนังศีรษะ

อาการ / ลักษณะ : เป็นผื่นไขมันลักษณะคล้ายรังแคบนผิวเด็ก บริเวณหนังศีรษะ บางครั้งอาจลามไปที่ท้ายทอย ลำคอ ไรผม หลังหู คิ้ว หรือรักแร้ ฯลฯ มีลักษณะเป็นผื่นหนาหรือเป็นแผ่น มีสะเก็ดค่อนข้างเหนียว มีทั้ง สีขาว สีเหลืองอ่อน จนถึงสีน้ำตาล พบมากในเด็กแรกเกิด – 6 เดือน

สาเหตุ : เกิดจากต่อมไขมันของลูกถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนของแม่ตอนตั้งครรภ์ ไขมันเหล่านี้ถูกผลิตออกมาเพื่อช่วยปกป้องผิวเด็กไว้ไม่ให้สูญเสียน้ำ เรียกได้ว่าเป็นไขหุ้มทารกที่ช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายทารกแรกคลอดนั่นเอง ไขนี้จะหายไปเองภายใน 2 – 3 วันแรกคลอด และสำหรับทารกช่วงอายุ 2 – 3 สัปดาห์ ต่อมไขมันจะผลิตไขมันออกมามากจนเกิดการอักเสบจากการอุดตันได้ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะคราบไขมันนี้ไม่ทำให้ลูกมีอาการคันหรือเป็นอันตราย โดยต่อมไขมันจะค่อยๆ ฝ่อ คราบไขมันจะลดลงและหายไปเองเมื่อลูกโตขึ้น

วิธีดูแล : 

1. ทาน้ำมันสำหรับเด็กบางๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นอย่างน้อย 2 – 4 ชั่วโมงก่อนสระผม
2. ค่อยๆ เช็ดคราบออกด้วยน้ำอุ่น สระผมลูกด้วยแชมพูหรือครีมอาบน้ำเด็กที่อ่อนโยน เสร็จแล้วซับเบาๆ ใจนแห้ง
3. หากลูกมีอายุมากกว่า 6 เดือน แต่ยังมีผื่นหรือคราบไขมันนี้อยู่ ควรพาไปพบแพทย์ผิวหนัง

ผื่นแดงบริเวณขาหนีบ

อาการ / ลักษณะ : มีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือเป็นตุ่มบริเวณขาหนีบ หรือบริเวณใต้ร่มผ้าที่อับชื้น เช่น ก้น อวัยวะเพศ ต้นขาอ่อนด้านใน หน้าท้อง ซึ่งเป็นอาการของผื่นผ้าอ้อม ซึ่งเป็นปัญหาผิวที่พบได้ทั่วไปในเด็กเล็กในช่วงอายุ 3 – 18 เดือน หากผิวลูกเกิดผื่นผ้าอ้อมขึ้นแล้ว อาจทำให้ลูกน้อยมีอาการเจ็บ ระคายเคือง งอแงเพราะรู้สึกไม่สบายตัว

สาเหตุ : ผิวบอบบางของลูกเสียดสีกับผ้าอ้อมเป็นเวลานาน หรือจากเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป เกิดความอับชื้นจนผิวแพ้ระคายเคืองเป็นผื่นแดงขึ้น  หรืออาจเกิดจากสารเคมีจากสบู่หรือผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ตกค้างอยู่ทำปฏิกริยากับความร้อนและความชื้น และหากไม่รีบดูแลรักษาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียจนอาการรุนแรงขึ้นได้

วิธีดูแล :

  1. คุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้บ่อยขึ้นโดยไม่ต้องรอให้ผ้าอ้อมเต็มก่อน จะช่วยลดความรุนแรงของอาการผื่นผ้าอ้อมได้ และยังลดโอกาสการติดเชื้อแบคทีเรียและเกิดเชื้อรา

  2. ควรใส่ผ้าอ้อมให้พอดีตัว ไม่รัดแน่นจนเกินไป

  3. หลังทำความสะอาดผิวควรเช็ดจนแห้ง และทาแป้งเด็กบาง ๆ เพื่อเพื่อลดการเสียดสีและหลีกเลี่ยงความเปียกชื้น จะช่วยให้ลูกสบายตัวยิ่งขึ้น เพราะหากผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นแดงหรือผื่นผ้าอ้อมหากสัมผัสกับของเสียเป็นเวลานาน ยิ่งทำให้ผิวแพ้ง่ายของลูกเปื่อยและเมื่อถูกผ้าอ้อมเสียดสีอาการผื่นแดงอาจหนักขึ้นได้

  4. ควรเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหรือสินค้าเด็ก เช่น แชมพูเด็ก ครีมอาบน้ำเด็ก หรือ แป้งเด็ก ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี หรือสารสังเคราะห์

 

วิธีดูแลปัญหาผิวเด็ก ผิวแพ้ง่าย

3. ผิวแห้งลอก เป็นขุย

อาการ / ลักษณะ : มีอาการแห้งลอก เป็นขุย ลูบผิวลูกแล้วรู้สึกผิวสากและอาจมีตุ่มขาวกระจายตามตัว

สาเหตุ : เนื่องจากผิวเด็กหลังคลอดจะมีไขมันที่เคลือบไว้ แต่หลังจาก 2 สัปดาห์แรกไป แต่เมื่อไขเหล่านั้นเริ่มหลุดออกไปจนหมด จึงทำให้ผิวชั้นนอกของทารกบอบบางกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า ไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ ผิวจึงแห้งขาดน้ำได้ง่าย อาจมีอาการแพ้ระคายเคือง เกิดปัญหาผิวลอกเป็นขุยนั่นเอง

วิธีดูแล : 

  1. ควรอาบน้ำลูกด้วยครีมอาบน้ำเด็กหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารสกัดมาจากธรรมชาติ โดยเลือกสูตรที่อ่อนโยน ปราศจากส่วนผสมของสบู่ที่มีความเป็นด่าง ไม่มีสารเคมี เพื่อป้องกันอาการแพ้และอาการระคายเคืองจากสารเคมี

  2. หลังอาบน้ำสามารถทาครีมหรือมอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง

  3. หากลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป อาจให้ลูกดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผิวเด็กมีความชุ่มชื้นจากภายใน ลดการเกิดผิวแห้ง

  4. ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเพราะจะทำให้ผิวแพ้ง่ายของลูกยิ่งระคายเคืองและมีอาการคันตามมา

4. ผื่นแดง มีอาการคันยุบยิบ

อาการ / ลักษณะ : หากคุณแม่สังเกตว่าลูกมีผิวแห้งเป็นขุย มีผื่นแดงและคัน โดยผื่นนั้นมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มแดงบริเวณใบหน้า ศีรษะ แขน ขา และจะยิ่งมีอาการคันมากขึ้นเมื่อเหงื่อออก นี่คืออาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งจะทำให้มีอาการคันจนรู้สึกไม่สบายตัว เป็นผื่นได้ง่าย และเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังมักพบว่าจะแพ้แมลง มด ยุง ฯลฯ อีกด้วย

สาเหตุ : เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น สภาพอากาศ ทั้งอากาศร้อนจัดทำให้ลูกมีเหงื่อออกเยอะ หรืออากาศแห้งจนผิวลูกแห้งลอกเป็นขุย รวมถึงไรฝุ่นในอากาศ หรืออาจเกิดจากพันธุกรรมที่คุณพ่อคุณแม่มีประวัติผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบหรือมีอาการภูมิแพ้ที่ระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้อาจเกิดจากการระคายเคืองผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีสารระคายเคือง เช่น ครีมอาบน้ำเด็ก แชมพูเด็ก ผลิตภัณฑ์ซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม ฯลฯ

วิธีดูแล :

  1. ให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง ระบายอากาศได้ดี ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาจนเกินไป

  2. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่อุ่นหรือร้อนจัด ไม่ควรถูสบู่นานเกินไป และไม่ควรใช้ฟองน้ำถูผิวแรงๆ เพราะจะยิ่งทำให้ผิวหนังอักเสบมากขึ้น และเกราะป้องกันผิวตามธรรมชาติของลูกจะถูกทำลาย

  3. ควรเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหรือสินค้าเด็ก เช่น แชมพูเด็ก ครีมอาบน้ำเด็ก หรือ แป้งเด็ก ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีหรือสารสังเคราะห์

  4.  หากลูกมีอาการคัน อาจใส่ถุงมือเด็กเพื่อป้องกันการเกาผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นแดง

  5. หากมีอาการเรื้อรังควรพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง รับคำแนะนำและยาจากแพทย์ผิวหนัง

5. ผดที่มีตุ่มใส

อาการ / ลักษณะ : มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กสีใสๆ ซึ่งสามารถหลุดลอกออกได้ ซึ่งเป็นอาการของผดร้อน แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่รีบดูแลผิวลูก ตุ่มเล็กๆ เหล่านั้นจะกลายเป็นตุ่มแดงและตุ่มหนอง มีอาการคันตามมา มักพบบริเวณที่เหงื่อออกมาก เช่น หน้าผาก คอ หน้าอก หลัง รักแร้ ข้อพับ ฯลฯ หรืออาจในบริเวณที่ถูหรือเสียดสีกับเสื้อผ้า

สาเหตุ : การระบายความร้อนทางผิวหนังผ่านต่อมเหงื่อของลูกยังทำงานได้ไม่ดี ท่อระบายเหงื่อเกิดการอุดตัน เนื่องจากผิวเด็กทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ และหากมีเหงื่อชื้นตามผิวหนังจะทำให้แบคทีเรียบริเวณนั้นเจริญเติบโตเร็ว ผดร้อนมักเกิดบ่อยในเด็กแรกเกิด 2 – 3 สัปดาห์แรก

วิธีดูแล :

  1. สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง ระบายอากาศได้ดี จะช่วยให้ลูกสบายตัวยิ่งขึ้น

  2. หลีกเลี่ยงอากาศร้อนและชื้น ควรให้ลูกอยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้ดี เย็นสบาย ไม่อบอ้าว

  3. หลังจากอาบน้ำด้วยครีมอาบน้ำเด็กที่อ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่ายแล้ว ควรเช็ดหรือซับผิวให้แห้งสนิท จากนั้นทาแป้งเด็กบางๆ และทายาแก้คัน

  4. ถ้าผื่นไม่หายภายใน 1 สัปดาห์ควรพาลูกไปพบแพทย์ผิวหนัง

เพราะผิวเด็กต้องการการดูแลอย่างทะนุถนอมเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกผลิตภัณฑ์เด็กที่เป็นสูตรอ่อนโยน ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวลูก อย่างผลิตภัณฑ์เด็กสูตร ไฮโป-อัลเลอร์เจนิก ที่ผ่านการทดสอบทางการแพทย์ผิวหนังจากสหรัฐอเมริกาว่าไม่ก่อให้เกิดการแพ้ เหมาะสมสำหรับผิวแพ้ง่ายของเด็กโดยเฉพาะ มั่นใจได้ไม่มีสารเคมี และไม่มีสารสังเคราะห์

 

ดูแลผิวเด็กไร้ผดผื่นคัน ลูกสบายตัว

ขอแนะนำ! ไอเท็มช่วยดูแลผิวเด็กสุดเวิร์ก

1. แป้งเด็กแคร์คลาสสิค

  • สูตรที่อ่อนโยนต่อผิวที่บอบบางของลูก ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ โดยผ่านการทดสอบไฮโป-อัลเลอร์เจนิก ทางการแพทย์ผิวหนังประเทศสหรัฐอเมริกา

  • ผสานคุณค่าสารสกัดธรรมชาติ 98% ไม่มีสารเคมี ไม่มีพาราเบน ไม่มีซิลิโคน และไม่มีสีสังเคราะห์

  • พร้อมสารสกัดธรรมชาติจากขมิ้น กลิ่นหอมอ่อนละมุน ไม่มีน้ำหอมฉุน แป้งเด็กแคร์คลาสสิคจึงที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันและลดผด ผื่นแดง หรือผื่นผ้าอ้อมที่เกิดจากการเปียกชื้น

2. แคร์ เฮดทูโท เอ็กซ์ตร้า เซนซิทีฟ

  • 2 in 1 สบู่เหลวอาบน้ำและสระผม ทำความสะอาดได้ทั้งผิวกายและหนังศีรษะอย่างอ่อนละมุน ไม่ระคายเคืองดวงตาและผิวแพ้ง่าย ช่วยให้ผิวลูกน้อยสะอาด สุขภาพดี

  • สูตรที่อ่อนโยนต่อผิวที่บอบบางของลูก ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ โดยผ่านการทดสอบไฮโป-อัลเลอร์เจนิก ทางการแพทย์ผิวหนังประเทศสหรัฐอเมริกา ปลอดภัยต่อผิวแพ้ง่ายของลูกน้อยแรกเกิด

  • ผสานคุณค่าสารสกัดธรรมชาติ 99% ไม่มีสารเคมี ไม่มีพาราเบน ไม่มีซิลิโคน ไม่มีสีสังเคราะห์ และไม่มีแอลกอฮอล์

ทั้ง 5 ปัญหาผิวของลูกรัก จะไม่ใช่เรื่องที่ทำให้คุณแม่ต้องเป็นกังวลเป็นห่วงอีกต่อไป ถ้าเข้าใจสภาพผิวของลูกน้อยและรู้จักวิธีดูแลผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารเคมีและอ่อนโยนต่อผิวบอบบาง จะช่วยปกป้องผิวแพ้ง่ายของลูกได้ เพียงเท่านี้ก็รับรองว่าคุณพ่อคุณแม่จะรับมือทุกปัญหาผิวเด็กได้แน่นอน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงมีหน้าที่ดูแลและเสริมสร้างพัฒนาการผิวของลูกให้แข็งแรงที่สุด ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผิวเด็กโดยเฉพาะ และเรายังมีวิธีรับมือเมื่อลูกรักมีผดหรือผื่นแดงขึ้นหน้ามาฝากกันเพิ่มเติม คลิก และแม้ว่าจะดูแลรักษาจนปัญหาผิวของลูกจะหายดีแล้ว แต่ก็ยังต้องคอยสังเกตและหมั่นดูแลให้มีสุขภาพผิวที่ดีอยู่เสมอ เพื่อเสริมเกราะป้องกันผิวลูกให้แข็งแรง ป้องกันการเกิดปัญหาผิวซ้ำๆ และลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาผิวอื่นๆ ตามมา

 

บทความที่น่าสนใจ เพื่อการดูแลผิวลูกน้อย