แพ้เหงื่อตัวเอง ผื่นคัน แก้ได้อย่างไร? อันตรายหรือไม่? พร้อมวิธีรักษา
เคยสังเกตไหมว่า บางครั้งผื่นแดงคันมักจะขึ้นตามข้อพับ แขน ขา หรือลำตัว หลังจากออกกำลังกาย หรือวันที่อากาศร้อนจัด หลายคนจึงพูดติดปากกันว่า “แพ้เหงื่อตัวเอง” ที่มาพร้อมกับความรู้สึกคันและไม่สบายตัว ทั้งที่จริง ๆ แล้วคุณอาจจะสับสนระหว่าง “โรคแพ้เหงื่อตัวเอง” กับ “ผดร้อน” ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ด้วยบ้านเราเป็นเมืองร้อนหลายคนจึงอาจมีผื่นคันขึ้นตามร่างกายในวันอากาศร้อนจัด
Care ชวนคุณมาทำความรู้จักโรคแพ้เหงื่อตัวเองคืออะไร? อาการแพ้เหงื่อเป็นอย่างไร? พร้อมวิธีป้องกันและเคล็ดลับในการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคแพ้เหงื่อมาฝาก
แพ้เหงื่อตัวเอง คืออะไร?
โรคแพ้เหงื่อตัวเองหรือ “โรคผื่นคันจากเหงื่อ” (Cholinergic Urticaria หรือ Heat Hives) เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดผื่นคัน ตุ่มใส หรือลมพิษขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือข้อพับต่าง ๆ บริเวณที่เหงื่อออกและอับชื้น อาการแพ้เหงื่อพบได้น้อยมาก และมีความใกล้เคียงกับอาการทางผิวหนังอื่น ๆ ที่เกิดจากความร้อน เช่น ผื่นคัน ผดร้อน เป็นต้น โรคแพ้เหงื่อมักเกิดกับผู้ที่มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นเร้าจากสภาพแวดล้อมสูง โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
ผื่นคันบริเวณที่มีเหงื่อ อาการผื่นคันบริเวณที่มีเหงื่อมักพบได้ในผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ลักษณะเป็นผื่นคัน หรือคันตามบริเวณที่มีเหงื่อมาก เช่น ข้อพับ ซอกคอ หรือลำตัว ส่วนใหญ่แล้วผื่นชนิดนี้จะหายเองได้ภายใน 30 นาที
ผื่นลมพิษที่เกิดจากการกระตุ้นของเหงื่อ เป็นอาการที่เกิดจากภาวะแพ้เหงื่อตัวเองโดยตรง สาเหตุมากจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังต่อการสัมผัสกับเหงื่อ ทำให้มีจุดนูนแดงขึ้นตามร่ากาย ก่อนจะขยายวงเป็นปื้นนูนแดงคันซึ่งเป็นลักษณะของลมพิษ ความรุนแรงของผื่นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน
ส่วนใหญ่อาการแพ้เหงื่อตัวเองมักจะไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ภายในครึ่งชั่วโมง แต่บางรายอาจมีอาการปากบวม ตาบวม แน่นหน้าอก และหายใจไม่สะดวกร่วมด้วย ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์ทันที
แพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากสาเหตุใด?
แม้สาเหตุที่แท้จริงของการแพ้เหงื่อยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่า โรคแพ้เหงื่อเกิดจากการตอบสนองของร่างกายเมื่อสัมผัสกับแอนติเจน (สารก่อภูมิแพ้ในเหงื่อ) ส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Mast cell และ Basophils ปล่อยฮีสตามีนออกมา ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันและทางเดินอาหาร ทำหน้าที่ในการกระตุ้นการอักเสบ ต่อสู้กับเชื้อโรค และควบคุมการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร โดยฮีสตามีนจะตอบสนองให้ร่างกายมีอาการแพ้เหงื่อ ผื่นคัน ลมพิษ คันตา และคันคอ
อีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคแพ้เหงื่อตัวเองเกิดจาก “ความร้อน” เมื่ออุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ร่างกายจะขับเหงื่อออกมาเพื่อช่วยระบายความร้อน เมื่อเหงื่อผสมกับแบคทีเรียบนผิวหนังจะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการผื่นแดง คัน หรือลมพิษ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้เหงื่อ ได้แก่
สวมเสื้อผ้ารัดแน่น หรือเสื้อผ้าที่ระบายอากาศไม่ดี
การออกกำลังกาย
อากาศร้อน หรือชื้นจนเกินไป
รับประทานอาหารรสเผ็ดจัด
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ
ยาบางชนิด เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด
ความเครียด
โรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคหอบหืด
อาการแบบไหนเรียกว่า “แพ้เหงื่อตัวเอง”
อาการแพ้เหงื่อตัวเองเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียความร้อน จึงทำให้เกิดผื่นแดงคันหลังจากเหงื่อออกได้ไม่นานและมักจะเป็นราว 30 นาทีก็ค่อย ๆ หายเอง ผื่นมักปรากฏบริเวณลำตัว, คอ, ใบหน้า, รักแร้, ขาหนีบ และข้อพับต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีลักษณะดังนี้
ผื่นแดง คัน บริเวณที่มีเหงื่อ เช่น ใบหน้า ลำคอ หน้าอก แผ่นหลัง แขน ขา รักแร้ ขาหนีบ ขอพับต่าง ๆ ของร่างกาย
ตุ่มใส คัน คล้ายอาการอีสุกอีใส
ลมพิษ บวมแดง คัน เป็นปื้นนูนแดง วงกลมหนานูน
อาการคล้ายมีไข้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ หายใจไม่ทั่วท้อง และความดันโลหิตต่ำ
อาการแพ้เหงื่อตัวเองยังสัมพันธ์กับอุณหภูมิของร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้นในวันอากาศร้อนจัดและการออกกำลังกาย ที่ส่งผลให้ร่างกายผลิตเหงื่อเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้เหงื่อไม่ได้ตรงไปตรงมาเสมอไป เนื่องจากอาจแยกแยะได้ยากจากสภาพผิวอื่นๆ เช่น ผดร้อน[2] อาการของโรคภูมิแพ้เหงื่ออาจรวมถึงลมพิษ คัน แดง และอักเสบ ซึ่งอาจแย่ลงได้เมื่อสัมผัสกับความร้อนหรือการออกกำลังกาย[4] ยาแก้แพ้ เช่น เซทิริซีน ไดเฟนไฮดรามีน และไฮดรอกซีซีน มักใช้รักษาอาการแพ้และอาจช่วยควบคุมอาการของโรคภูมิแพ้ทางเหงื่อได้ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
ใครเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้เหงื่อ?
ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ Atopic Dermatitis (AD) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งพบมากในเด็ก แต่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังมักมีผิวแห้ง คัน อักเสบ และเป็นผื่นเรื้อรัง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้เหงื่อมากกว่าคนอื่น ๆ และอาจทำให้อาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนังรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังควรระมัดระวังอากาศร้อน และควรสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
วิธีรักษาอาการผื่นคัน แพ้เหงื่อง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
หากคุณสงสัยว่ามีอาการแพ้เหงื่อ หรือได้รับคำยืนยันจากแพทย์ผิวหนังแล้วว่าเป็นโรคแพ้เหงื่อตัวเอง เรามีวิธีรักษาอาการผื่นคันและแพ้เหงื่อตัวเองง่าย ๆ ด้วยตัวเองที่บ้าน
สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ สวมใส่สบาย หรือเนื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง เล่นกีฬา Outdoor หรืออยู่ในสถานที่ที่อากศร้อนจัด
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ที่อาจทำให้เหงื่อออกมากเกินไป
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด ที่ทำให้เหงื่อออกได้
งดการอาบน้ำอุ่น สครับผิว และซาวน่า ที่ทำให้ผิวแห้งและไวต่อการระคายเคืองมากขึ้น
อาบน้ำให้สะอาดทุกครั้งหลังออกกำลังกาย
ประคบเย็นบริเวณที่มีผื่นคัน
รับประทานยาแก้แพ้ เช่น เซทิริซีน (Zyrtec, Reactine, Alerid) ไดเฟนไฮดรามีน (Benadryl, Nytol, Sleep-Eze)
ใช้เจลว่านหางจระเข้ทาผิวบริเวณที่มีผื่นคัน
บำรุงผิวด้วยโลชั่นสูตรอ่อนโยน ปราศจากน้ำหอมและสารที่ไวต่อการระคายเคืองผิว
สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าวิธีการป้องกันและรักษาอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการแพ้และประวัติทางการแพทย์ของแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอคำแนะนำจากแพทย์ผิวหนังเพื่อจัดการกับอาการแพ้เหงื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคแพ้เหงื่อ
เพื่อป้องกันอาการแพ้เหงื่อตัวเอง ผดร้อน ผื่นคัน หรือลมพิษที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศร้อนจัด หรือวันที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เรามีเคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากอาการผื่นคันและช่วยให้คุณมีสุขอนามัยที่ดีอยู่เสมอ
อาบน้ำเพื่อชำระสิ่งสกปรกวันละ 2 ครั้ง ทุกเช้าและก่อนนอน
เลือกครีมอาบน้ำ หรือสบู่ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์ ช่วยให้ผิวไม่แห้งตึงหลังอาบน้ำ
หากเด็ก ๆ มีอาการแพ้เหงื่อตัวเอง ควรเลือกสบู่อาบน้ำสูตรอ่อนโยนและไม่ระคายเคือง เราแนะนำ ครีมอาบน้ำแคร์ คลาสสิค สูตรอ่อนโยนต่อผิวบอบบางของลูกน้อย 94% จากส่วนผสมธรรมชาติ ผ่านการทดสอบไฮโป-อัลเลอร์เจนิกจากแพทย์ผิวหนังอเมริกาแล้วว่า ไม่ก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคืองผิว
สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เนื้อผ้าบางเบาเหมาะกับสภาพอากาศร้อน
ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือดื่มน้ำประมาณ 1.5-2 ลิตรต่อวัน
หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผ่อนคลายความเครียด และความวิตกกังวล
ออกกำลังกายในที่ที่อากาศเย็นสบาย หรือออกกำลังกายเบา ๆ ตอนเช้าตรู่และตอนเย็น
แม้อาการแพ้เหงื่อตัวเองอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่บางคนอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้เหงื่อมากกว่าคนอื่น ๆ เพียงทำตามคำแนะนำดี ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณนำมาฝาก จะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคแพ้เหงื่อตัวเอง ลมพิษ หรือมีอาการผื่นคัน แพ้เหงื่อในวันอากาศร้อนจัด แล้วอย่าลืมดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ควรอาบน้ำชำระสิ่งสกปรกวันละ 2 ครั้ง และทาโลชั่นบำรุงผิวสูตรอ่อนโยน จะช่วยให้คุณมีสุขภาพผิวที่ดีอยู่เสมอ