
ดูแลลูกน้อยให้สุขภาพดีด้วยเคล็ดลับง่ายๆ เมื่อลูกไม่สบาย
เมื่อลูกของคุณแม่มีอาการตัวร้อน ลูกเป็นไข้หลายวันไม่หาย ลูกตัวร้อนไข้ไม่ลด หรือลูกตัวร้อนอย่างเดียว ย่อมสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ป้ายแดงที่ต้องรับมือกับช่วงเวลาที่ลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุก็คงไม่รู้จะทำอย่างไรดี เพราะลูกยังเล็กอยู่จะให้กินยาเหมือนผู้ใหญ่ก็คงจะไม่ได้ แคร์แบ่งปันประสบการณ์ในการดูแลลูกน้อยในวันที่เขาไม่สบาย รวมถึงเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยดูแลลูกน้อยให้กลับมาแข็งแรงเร็วๆ มาฝากค่ะ
ลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ! ต้องสังเกตอาการอย่างไร?
ช่วงแรกๆ ที่ลูกตัวร้อนและเริ่มมีไข้ คุณแม่หลายท่านอาจจะรู้สึกตกใจและเป็นกังวล เพราะไม่รู้สาเหตุว่าเกิดจากอะไรกันแน่? อาการไข้ในเด็กเล็กเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือแม้แต่การได้รับวัคซีน สิ่งที่คุณแม่ควรสังเกตเพิ่มเติมนอกจากการวัดไข้แล้ว คือพฤติกรรมของลูกน้อย ได้แก่
ลูกซึมลงหรือเปล่า? ปกติลูกจะเป็นเด็กร่าเริงสดใส แต่อยู่ๆ เจ้าตัวน้อยกลับนิ่งเงียบผิดปกติ หรือดูซึมลงอย่างเห็นได้ชัด
ลูกกินนมน้อยลงหรือเปล่า? จากที่เคยกินเก่ง กลับเบือนหน้าหนี อาจเพราะมีความเจ็บป่วยที่ทำให้เจ้าตัวน้อยอ่อนเพลีย
ลูกน้อยงอแง หรือร้องไห้ผิดปกติหรือเปล่า? สังเกตว่าอาการลูกน้อยงอแงไม่ใช่เกิดจากความหิว หรือง่วงนอนธรรมดา
ถ้าลูกน้อยมีอาการผิดปกติเหล่านี้ร่วมด้วย แนะนำให้คุณแม่ควรรีบพาน้องไปพบแพทย์จะดีที่สุด และหลีกเลี่ยงการซื้อยามาให้ลูกรับประทานด้วยเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้
ลูกตัวร้อน มีไข้สูง เกิดจากอะไรได้บ้าง?
ก่อนอื่นคุณแม่ต้องเข้าใจถึง “ระบบภูมิคุ้มกัน” (Immune System) ของทารกวัยแรกเกิดถึง 6 เดือนจะได้รับภูมิคุ้มกันจากน้ำนมแม่เป็นหลัก หลังจาก 6 เดือนขึ้นไประบบภูมิคุ้มกันของเขาจะค่อยๆ พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงอายุ 2-5 ปี ระบบภูมิคุ้มกันจะได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และช่วงนี้ลูกอาจจะป่วยบ่อยขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากอยู่ดีๆ ลูกก็ตัวร้อน ลูกเป็นไข้หลายวันไม่หาย ลูกมีไข้ต่ำๆ เป็นๆ หายๆ หรือลูกตัวร้อนแต่ไม่มีไข้ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ นั่นคือ
1. การติดเชื้อ
อาการลูกตัวร้อน ไข้ไม่ลด อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ปอดอักเสบ รวมถึงการติดเชื้อในหู การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในทางเดินหายใจ ซึ่งการติดเชื้อเหล่านี้ลูกน้อยจะต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านไวรัสที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์
2. การอักเสบ
นอกจากการติดเชื้อ แล้วสาเหตุของอาการตัวร้อน ไข้ไม่ลด อาจเกิดจากการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คุณแม่ต้องพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านการอักเสบ หรือยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์
3. ภาวะอื่นๆ
นอกจากการติดเชื้อและการอักเสบแล้ว อาการตัวร้อน ไข้ไม่ลด อาจเกิดจากภาวะอื่นๆ เช่น อากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูง ภาวะขาดน้ำ มีไข้หลังฉีดวัคซีน การอักเสบของผิวหนัง เช่น ผื่นคัน แผลพุพอง หรือแม้แต่ภาวะเครียดและวิตกกังวลก็ส่งผลให้ลูกมีไข้และตัวร้อนได้เช่นกัน ทางที่ดีคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป เพื่อให้ลูกหายเจ็บป่วยและกลับมามีสุขภาพแข็งแรงโดยเร็ว
ลูกตัวร้อนอย่างเดียว: เมื่อเจ้าตัวเล็กมีไข้แต่ไม่มีอาการอื่น
เมื่อลูกน้อยมีอาการตัวร้อนอย่างเดียว แต่ไม่มีไข้ หรือไม่มีอาการป่วยอื่นๆ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายของเด็กอาจเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยในช่วงเช้า แต่เมื่อร่างกายมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวก็อาจจะทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น หากลูกน้อยมีอาการตัวร้อนอย่างเดียว อาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้
ภาวะร่างกายขาดน้ำ: ลูกน้อยตัวร้อนเนื่องจากการสูญเสียน้ำมากเกินไป เช่น การเล่นกีฬา ออกกำลังกายหนัก อากาศร้อนจัด หรืออยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูง ก็ทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกิดอาการตัวร้อนขึ้นได้เช่นกัน คุณแม่ควรให้ลูกดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่มีแร่ธาตุเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป
การอักเสบของผิวหนัง: ลูกอาจมีอาการตัวร้อนเนื่องจากการอักเสบของผิวหนัง เช่น ผื่นคัน แผลพุพอง เป็นต้น กรณีนี้คุณแม่ควรทำความสะอาดบริเวณที่อักเสบด้วยน้ำเย็น และใช้ยารักษาที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์
ภาวะเครียด: รู้หรือไม่ว่า ลูกน้อยก็มีอาการตัวร้อนเนื่องจากภาวะเครียดหรือความวิตกกังวลได้เช่นกัน คุณแม่ควรหาวิธีคลายความเครียดให้เจ้าตัวน้อย เช่น ให้ลูกพักผ่อนเพียงพอ ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือพูดคุยระบายความรู้สึกเป็นประจำ หากลูกมีอาการตัวร้อนผิดปกติ หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ระหว่างนี้ควรให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และใช้ยาลดไข้ตามคำแนะนำของแพทย์
ลูกเป็นไข้หลายวันไม่หาย ทำยังไงดี?
หลังจากพาลูกน้อยไปพบคุณหมอและได้รับยามากินแล้ว แต่อาการของลูกยังไม่ค่อยดีขึ้น ไข้ยังไม่ลดลงสักที ถึงจุดนี้คุณพ่อคุณแม่ก็คงจะกังวลใจไม่น้อย บางคนอาจถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะเป็นห่วงลูกสุดหัวใจ หากลูกมีอาการไข้หวัดเรื้อรัง หรือเป็นหวัดนานกว่า 10 วันและไม่หายสักที ควรพาลูกไปพบแพทย์อีกครั้งเพื่อตรวจให้แน่ใจว่ามีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่? เช่น ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ หูน้ำหนวก หรือโรคอื่นๆ ที่มีอาการใกล้เคียงกับไข้หวัด เช่น โรคภูมิแพ้ ทำให้มีอาการคัดจมูก คันตา มีน้ำมูกใสๆ เป็นประจำในช่วงเช้าและตอนกลางคืน หรืออาจจะมีสิ่งแปลกปลอมในจมูกที่ทำให้น้ำมูกข้นเขียว อาการเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้หลายวันไม่หายได้เช่นกัน
นอกจากนี้ เราแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด คอยเช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะๆ ป้อนน้ำเกลือแร่หรือให้ลูกจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ที่สำคัญควรให้ลูกน้อยพักผ่อนให้มากที่สุด ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกและเย็นสบาย ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป หากลูกน้อยนอนหลับในห้องแอร์ควรปรับอุณหภูมิเหมาะสม และสวมเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดี ไม่ควรสวมเสื้อผ้าหนาจนเกินไป เท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยของลูกน้อยได้ด้วยตัวเอง
5 ขั้นตอนรับมือลูกตัวร้อน ลดไข้ให้ลูกน้อยด้วยตัวเอง
เชื่อว่า คุณพ่อคุณแม่คงจะกังวลอย่างมาก หากลูกน้อยมีไข้สูงในช่วงกลางดึกและไม่สะดวกในการจะเดินทางไปพบแพทย์ เรามีวิธีลดไข้ให้ลูกอย่างถูกวิธี เพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกน้อยได้อย่างเหมาะสมและช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวมากขึ้น ได้แก่
ให้ลูกรับประทานยาลดไข้ (พาราเซตามอล) สำหรับเด็ก: ที่สำคัญควรคำนวณปริมาณตามน้ำหนักตัวของลูกน้อย หรือทำตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยทั่วไปควรรับประทาน 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
เช็ดตัวเพื่อลดไข้ และระบายความร้อนได้ดีขึ้น: อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสำหรับการเช็ดตัวควรอยู่ที่ 27-37 องศาฯ และไม่ควรใช้น้ำร้อนจนเกินไป โดยให้เช็ดตามบริเวณข้อพับต่างๆ เช่น รักแร้ ซอกคอ ขาหนีบ และหน้าผาก เพื่อช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวและระบายความร้อนได้ดีขึ้น
ดื่มน้ำเยอะๆ: เพื่อชดเชยน้ำส่วนที่ร่างกายสูญเสียไปในระหว่างที่มีไข้
สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี: ไม่ควรสวมเสื้อผ้าบาง หรือหนาจนเกินไป
นอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก: อุณหภูมิไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป
สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังคือ “ภาวะชักจากไข้”(Febrile Seizure) ซึ่งเป็นภาวะชักที่พบได้มากที่สุด หากลูกน้อยมีไข้สูงและตัวร้อนติดต่อกันหลายวัน แนะนำให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
ดูแลลูกน้อยอย่างไร ให้กลับมาแข็งแรง สุขภาพดีเหมือนเดิม?
หลังจากที่ลูกน้อยหายป่วยแล้ว สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ คือการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ และป้องกันไม่ให้ลูกน้อยกลับมาป่วยซ้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับอาหารการกิน เน้นอาหารที่มีประโยชน์ อาหารปรุงสุก สดใหม่ สะอาด พยายามให้ลูกน้อยดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ ควบคู่กับการดูแลลูกน้อยด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด นั่นคือ
ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือนหรือมากกว่านั้น เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารและสารภูมิคุ้มกันของร่างกายจะช่วยลดอาการเจ็บป่วย และเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และปรับเมนูให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยให้ภูมิคุ้มกับของร่างกายแข็งแรงขึ้น
ดูแลสุขอนามัยของลูกน้อย ด้วยการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจจะทำให้ลูกน้อยเจ็บป่วยได้
เข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน ตามเกณฑ์อายุของร่างกาย
ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง และอารมณ์ดีอยู่เสมอ
ด้วยเคล็ดลับดีๆ ในการดูแลลูกตัวร้อนที่ได้รับจากแคร์ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกได้อย่างดีและช่วยให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ ที่สำคัญแคร์อยากจะเน้นเรื่องการอาบน้ำและทำความสะอาดร่างกายจากสิ่งสกปรกและเชื้อโรคต่างๆ
แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์สูตรอ่อนโยนที่เหมาะกับสภาพผิวบอบบางของลูก โดยเฉพาะครีมอาบน้ำแคร์ แคร์ คิดส์ เฮดทูโท หรือสบู่เด็กแคร์คลาสสิค ที่มีให้เลือกหลายสูตรสำหรับความต้องการของคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย